วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 11

ข้อผิดพลาดของ Google Book Search ในเชิงเมทาดาตา

ในขณะที่หลายฝ่ายกำลังวิจารณ์ข้อตกลงในเรื่อง Google Book มีงานเขียนใน The Chronicle ที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับความผิดพลาดของการสร้างเมทาดาตา (metadata) อัตโนมัติของ Google Book โดย Geoffrey Nunberg จาก UC Berkeley
ในช่วงต้นของบทความ Nunberg ใช้เวลาอธิบายความเชื่อที่ว่า ไม่ว่าผลของการพิจารณาเรื่องข้อตกลงจะออกมาในรูปแบบไหน Google Book ก็จะกลายเป็นมหาอำนาจทางความรู้ไปอย่างไม่แทบจะต้องสงสัย ถึงกับบอกว่า "เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า Google Book นั้นกำลังมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้นก็คือ เกือบจะแน่นอนแล้วว่าจะเป็นแห่งสุดท้ายด้วย"
แต่ด้วยการที่ Google เจริญเติบโตมาด้วย search engine, อัลกอริทึ่มการค้นคืน (retrieval algorithm), ข้อมูลเต็มรูป (full-text), และสารสนเทศในฐานะผลผลิตของการสื่อสาร จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเมทาดาตามากนัก การขาดการดูแลเมทาดาตานี่เอง ก็ดูเหมือนจะเป็นมหันตภัยอันร้ายแรงสำหรับวงการวิชาการเลยทีเดียว

ที่มา http://www.onopen.com/songphan/09-09-27/5044

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10

กูเกิลยอมจำนน จ่ายค่าหนังสือใน Google Book Search ให้สำนักพิมพ์

บริการ Google Book Search ที่กูเกิลทำการสแกนหนังสือในห้องสมุดเอามาเก็บไว้ในเว็บที่เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 4 ปีนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นบริการที่ดีสำหรับผู้ใช้ แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาคดีความกับสำนักพิมพ์ต่างๆ มานานแล้ว (ข่าวเก่า) ในวันนี้กูเกิลออกมาจำนนยอมจ่ายเงินค่าหนังสือทั้งหมดให้กับสำนักพิมพ์ทั้งหลาย

เงินจำนวนดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้หนังสือทั้งหมดสามารถอยู่ใน Google Book Search ได้ต่อไป ในข้อตกลงกับบริษัทหนังสือ กูเกิลยังจะสามารถขายหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้หนังสือที่หาซื้อฉบับจริงไม่ได้ สามารถที่จะซื้อแบบออนไลน์ได้ด้วย นอกจากนี้ห้องสมุดต่างๆ ยังสามารถที่จะซื้อหนังสือฉบับเต็มทั้งหมดที่อยู่บน Google Book Search แบบออนไลน์เพื่อให้สมาชิกห้องสมุดเข้าชมได้ด้วย

"บริษัทนี้ (กูเกิล) ตั้งมาเพื่อทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว" Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิลกล่าว

อย่างไรก็ดีข้อตกลงการขายหนังสือนี้อาจไม่รวมถึงประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา แต่กูเกิลก็กำลังพิจารณาขยายไปยังประเทศอื่นๆ ครับ (ผมคิดว่าน่าจะถึงประเทศไทยด้วย.. จะได้ไม่ต้องแบก textbook หรือดาวน์โหลด pdf แบบเถื่อนๆ ต่อไป)

ที่มา http://www.blognone.com/node/9421

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

เกียวกับ Google Book
ข้อเท็จจริงกับความเชื่อ

ความเชื่อ: คุณบอกว่าคุณแสดงเพียงตัวอย่างบางส่วนของหนังสือที่มีลิขสิทธิ์ แต่ผมเห็นหมดทั้งหน้า แสดงว่าคุณต้องละเมิดลิขสิทธิ์

ข้อเท็จจริง: เมื่อคุณมองเห็นเนื้อหาจำนวนหนึ่งของหนังสือที่มีลิขสิทธิ์ใน Google Books ก็เนื่องจากผู้แต่งหรือผู้จัดพิมพ์ได้เข้าร่วมโครงการพันธมิตรของเรา และให้อนุญาตเราในการแสดงให้คุณเห็นมุมมองหน้าตัวอย่าง ซึ่งช่วยให้คุณทราบข้อมูลมากเพียงพอเกี่ยวกับหนังสือเพื่อจะทราบว่าคุณจะซื้อหนังสือเล่มนั้นหรือไม่ เราดำเนินการนี้โดยได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากผู้จัดพิมพ์


--------------------------------------------------------------------------------

ความเชื่อ: ถ้าหนังสือยังมีลิขสิทธิ์อยู่ การสแกนโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าผิดกฎหมาย

ข้อเท็จจริง: ความเชื่อนี้อาจเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมากที่สุดเกี่ยวกับ Google Books และกฎหมายลิขสิทธิ์โดยทั่วไป ถ้าหนังสือในห้องสมุดเป็นสาธารณสมบัติ (สิ้นอายุลิขสิทธิ์แล้ว) ก็สามารถแสดงเนื้อหาได้ทั้งหมด ถ้าหนังสือยังมีลิขสิทธิ์อยู่ ผู้ใช้ก็จะดูได้เพียงรายละเอียดพื้นฐาน (เช่น ชื่อหนังสือและชื่อผู้แต่ง) อย่างมากที่สุดก็เป็นตัวอย่างสักสองสามตัวอย่างจากหนังสือ และข้อมูลเกี่ยวห้องสมุดที่มีหนังสือเล่มนี้ หรือสถานที่ซึ่งสามารถซื้อหนังสือได้ ถ้าผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งไม่ต้องการให้แปลงหนังสือของตนเป็นระบบดิจิทัล พวกเขาก็เพียงบอกมาและเราก็จะแยกหนังสือดังกล่าวออกไป

เราใส่ใจในการออกแบบ Google Books เพื่อให้การใช้หนังสือมีความเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองและส่งเสริมคุณค่าของผลงานสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้มีผลงานออกมามากขึ้น และในกรณีนี้ก็เพื่อให้ผู้แต่งแต่งหนังสือและผู้จัดพิมพ์จัดพิมพ์หนังสือออกมา เราเชื่อมั่นว่าการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้อ่านในการค้นหาและซื้อหนังสือ จะทำให้เราสามารถช่วยให้ผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ขายหนังสือได้มากขึ้น คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ที่เป็นธรรม

ที่มา http://books.google.co.th/intl/th/googlebooks/facts.html

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

เกี่ยวกับ Google Books
ข้อเท็จจริงกับความเชื่อ

ความเชื่อ: Google Books ให้คุณดาวน์โหลดหนังสือทุกเล่มในโลกได้ฟรี

ข้อเท็จจริง: Google Books ช่วยคุณในการค้นหาหนังสือ มิใช่ให้ดาวน์โหลดหรืออ่านหนังสือโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ดังนั้นเมื่อคุณพบหนังสือที่ยังมีลิขสิทธิ์อยู่ คุณจะดูหนังสือได้เพียงบางส่วนเป็นครั้งๆ ไปเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นมุมมองตัวอย่าง หรือมุมมองหน้าตัวอย่าง รวมทั้งลิงก์ไปยังสถานที่ที่คุณสามารถซื้อหรือยืมหนังสือได้ แต่ถ้าคุณพบหนังสือที่สิ้นอายุลิขสิทธิ์แล้ว เราก็สามารถแสดงมุมมองหนังสือทั้งเล่มได้


ความเชื่อ: Google ได้รับเงินจากผู้จำหน่ายหนังสืออย่างเช่น Amazon เพื่อให้มีลิงก์อยู่ในหน้าของ Google Books

ข้อเท็จจริง: เราแสดงลิงก์ไปยังผู้จำหน่ายหนังสือต่างๆ ในหน้าของ Google Books เนื่องจากเราต้องการให้ผู้ใช้สามารถซื้อหนังสือได้ง่ายและผู้จัดพิมพ์จำหน่ายหนังสือได้ง่าย ผู้จำหน่ายหนังสือไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อให้มีลิงก์ของตนอยู่ใน Google Books อีกทั้ง Google ก็มิได้รับเงินแต่อย่างใดถ้าคุณซื้อหนังสือจากหนึ่งในผู้ค้าปลีกเหล่านี้

ที่มา http://books.google.co.th/intl/th/googlebooks/facts.html